คำแนะนำผู้โดยสาร
คำแนะนำผู้โดยสารขาออก
ผู้โดยสารขาออก
ผู้โดยสารขาออกจะต้องได้รับการตรวจสิ่งของต้องห้ามก่อนออกเดินทาง
เงินตราเเละการเเลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ค่าเงินสกุลบาทของราชอาณาจักรไทย 1บาท มี 100 สตางค์ ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท (สีน้ำตาล) ฉบับละ 500 บาท (สีม่วง) ฉบัับละ 100 บาท (สีเเดง) ฉบัับละ 50 บาท (สีน้ำเงิน) ฉบับละ 20 บาท (สีเขียว) เเละฉบับละ 10 บาท (สีน้ำตาล) เหรียญประกอบด้วย เหรียญ 25 สตางค์ เหรียญ 50 สตางค์ เหรียญ 1 บาท เหรียญ 2 บาท เหรียญ 5 บาท เเละเหรียญ 10 บาท
เงินเเละเช็คเดินทางสามารถเเลกได้ที่ โรงเเรม ร้านค้า ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า เเละจุดบริการเเลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ วิธีที่สะดวกที่สุดในการเเลกเช็คเดินทาง คือ เเลกที่ธนาคาร ( ต้องเเสดงหนังสือเดินทางด้วย )
ผู้เดินทางสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้ เเละสามารถนำเงินตราออกนอกประเทศได้เช่นกัน เเต่จะต้องห้ามเกินจำนวนที่ทางศุลกากรได้กำหนดไว้ตอนขาเข้า
ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรไทยสามารถนำ เงินสกุลบาทออกนอกประเทศได้ไม่เกิน 50,000 บาท
เงินตราเเละการเเลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
การนำหรือส่งสินค้าต้องห้ามออกนอกราชอาณาจักรไทย เช่น ยาเสพติด ธนบัตรเเละเหรียญปลอม สิ่งของ ภาพ หรือ หนังสือลามก ถือว่าผิดกฎหมาย เมื่อตรวจพบทางศุลกากรจะยึดสิ่งของเหล่านั้น เเละหากผู้โดยสารถูกตัดสินว่านำสิ่งต้องห้ามต่างๆ ที่ผิดกฎหมายออกไปจะถูกปรับ เเละดำเนินคดีตามกฎหมาย
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการทางศุลกากร การร้องเรียน หรือสอบถามเกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้เดินทาง หรือท่านจะร้องเรียนในเรื่องการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศุลกากร รวมทั้งกระบวนการทางศุลกากร สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานศุลกากรที่ใกล้ที่สุดทั้งขาเข้าเเละขาออกของท่าอากาศยาน
ของต้องกำกัด
หมายถึง ของบางชนิด ที่กฎหมายควบคุมการนำเข้ามา และการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การนำเข้าและการส่งออกของต้องกำกัด ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องนำมาแสดงในเวลาปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วย ตัวอย่างเช่น
ประเภท | องค์กรที่มีหน้าที่ควบคุม |
บุหรี่ ยาสูบไม่เกิน ๒๐๐ มวน หรือซิการ์และยาเส้น น้ำหนักไม่เกิน ๒๕๐ กรัม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๑ ลิตร | กรมสรรพสามิต |
อาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด | กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย |
พืช และส่วนต่างๆของพืช | กรมวิชาการเกษตร |
สัตว์มีชีวิต และซากสัตว์ | กรมปศุสัตว์ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช |
อาหาร ยา | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา |
ชิ้นส่วนยานพาหนะ | กระทรวงอุตสาหกรรม |
พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ | กรมศิลปากร |
เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม | สำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) |
ข้อมูลเพิ่มเติม www.customs.go.th
ไม่ซื้องาช้าง
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ควรมีความตระหนัก และไม่ควรเสี่ยงในการซื้องาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง ช้างเป็นสัตว์ป่าชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์และอยู่ในบัญชี ๑ ของอนุสัญญา CITES ดังนั้น ชนิดพันธุ์ รวมถึงซาก งา หรือผลิตภัณฑ์ไม่สามารถนำเข้าส่งออกเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าได้ การอนุญาตจะอนุญาตเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อการเพาะพันธุ์เท่านั้น
งาช้างไทย และกฎหมายเกี่ยวกับช้าง
1. งาช้างจากช้างบ้านสามารถค้าขายอย่างถูกกฎหมาย แต่อนุญาตซื้อขายภายในประเทศเท่านั้น โดยการควบคุมการค้า
2. ประเทศไทยห้ามนำเข้าส่งออกงาช้าง ถึงแม้ว่าจะเป็นของใช้ส่วนบุคคล หรือของชำร่วย นักท่องเที่ยวจะต้องไม่ซื้องาช้างหรือผลิตภัณฑ์จากงาช้าง การนำงาช้างหรือผลิตภัณฑ์จากงาช้างออกจากประเทศไทย เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ผู้กระทำผิดมีโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคารวมค่าอากร หรือจำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และอาจจะถูกจับในประเทศของท่านเอง
ข้อมูลจาก : กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่า และพืชป่าตามอนุสัญญากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช